การเกด

สมุนไพรไทยกับสุขภาพ โดย…บ้านคุณหมอ

รูปการเกด

การเกด

การเกด
ชื่ออื่นๆเช่น ต้นเตยหนาม,การะเกด,การะเกดด่าง,ลำเจียกหนู(กทม),เตยด่าง,เตยหอม(กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus tectorius Blume วงศ์ PANDANACEAE
เป็นสมุนไพรไทยไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นสูง 3-7 เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาวและใหญ่
ใบ เดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ ค่อยๆเรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็ง แผ่นใบด้านล่างมีนวล
ดอก แยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอดมีจำนวนมาก ช่อดอกเพศผู้
รูปผลการเกด

ผลการเกด

ตั้งตรง มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม
ผล เบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร เมื่อสุกหอมโคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอเกาศจำนวนมาก
สรรพคุณ
ดอก ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทานมีรสขมเล็กน้อย แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ไม่มีรายงานการวิจัย

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี